ขั้นตอนการสมัครเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก

(คำแนะนำ : อุทยานธรณีที่ประสงค์จะสมัครให้ศึกษาแนวทางและประสานงานกับอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกและคณะกรรมการอุทยานธรณี
แห่งชาติ (ถ้ามี) ภายในประเทศ)


1. อุทยานธรณีที่มีความประสงค์สมัครจะต้องส่งจดหมายแสดงความจำนงในการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อสำนักงานเลขาธิการยูเนสโกผ่านคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน

2. ผู้สมัครเสนอเอกสารประกอบการสมัคร (application dossier) ผ่านคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม – 30 พฤศจิกายน

3. ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม – 31 มีนาคม สำนักงานเลขาธิการยูเนสโกดำเนินการตรวจสอบความสมบูรณ์ของเอกสารประกอบการสมัคร เมื่อครบถ้วนและถูกต้องตามแบบที่กำหนด จะส่งเอกสารให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ดำเนินการประเมินคุณค่าระดับสากลของแหล่งธรณีวิทยาในพื้นที่ที่สมัครจากเอกสารประกอบการสมัคร

4. ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 15 สิงหาคม ผู้ประเมินจำนวนไม่เกิน 2 ท่าน ลงพื้นที่ประเมินและจัดทำรายงานการประเมิน

5. เดือนกันยายน สภาอุทยานธรณีโลกพิจารณาใบสมัครโดยดำเนินการในสำนักงาน เกี่ยวกับการประเมินแหล่งมรดกทางธรณีวิทยา และรายงานผลการประเมินจากการลงพื้นที่จริง โดยอาจมีข้อแนะนำ 3 แนวทาง ดังนี้

– 5.1 ยอมรับการสมัครและเสนอให้สำนักอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกนำเสนอ Director-General เพื่อบรรจุพื้นที่อุทยานธรณีที่สมัครในวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกเพื่อพิจารณาในการประชุมในฤดูใบไม้ผลิเมื่อพิจารณาเห็นชอบแล้วก็จะได้เป็นอุทยานธรณีโลก และจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของเครือข่ายอุทยานธรณีโลก

– 5.2 เลื่อนการสมัครออกไปไม่เกิน 2 ปี เพื่อทำการปรับปรุง และอุทยานธรณีที่สมัครจะต้องทำรายงานว่าได้ดำเนินการตามคำแนะนำอย่างไรบ้าง เมื่อสภาอุทยานธรณีโลกพิจารณาผลการดำเนินการแล้ว อาจมีข้อเสนอแนะ คือการยอมรับการสมัครและส่งตามขั้นตอนข้อ 5.1 หรือปฏิเสธการสมัคร ซึ่งอุทยานธรณีที่ถูกปฏิเสธหากประสงค์จะ
สมัครอีกครั้งต้องเริ่มขั้นตอนใหม่ตั้งแต่ต้น

– 5.3 ปฏิเสธการสมัคร และหากประสงค์จะสมัครอีกครั้งต้องเริ่มขั้นตอนใหม่ตั้งแต่ต้นภายหลังอุทยานธรณีได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแล้วจะมีการประเมินซ้้ำทุกๆ 4 ปี หากไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานจะได้รับใบเหลือง โดยให้ระยะเวลาดำเนินการปรับปรุง 2 ปี หากประเมินไม่ผ่านอีกครั้งจะได้รับใบแดงและถูกปลดออกจากการเป็นอุทยานธรณีโลก

เอกสารประกอบการสมัคร (Application dossier)
รูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ : ขนาดไฟล์สูงสุดไม่เกิน 5 เมกะไบต์ หากส่งทางอีเมล หรือสูงสุดไม่เกิน 50 เมกะไบต์หากส่งผ่านเว็บลิงก์ เช่น Dropbx หรือ WeTransfer เป็นต้น

ระยะเวลา : เปิดรับใบสมัครปีละครั้ง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาำคม ถึง 30 พฤศจิกายนก่อนส่งใบสมัครอย่างเป็นทางการ อุทยานธรณีจะต้องส่งแสดงความจำนง (Expression of interest) ผ่านช่องทางอย่างเป็นทางการ ซึ่งกำหนดโดยหน่วยงานแห่งชาติที่ประสานงานกับยูเนสโก (สำหรับประเทศไทย คือคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) หรือหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการประสานงานกับยูเนสโก เช่น คณะกรรมการอุทยานธรณีระดับชาติ (ถ้ามี)เมื่อมีความพร้อมแล้ว ให้ส่งเอกสารประกอบการสมัครที่มีเนื้อหาครบถ้วนและมีรูปแบบที่ถูกต้องทุกประการ

ตามที่กำหนด ส่งให้ยูเนสโกโดยผ่านช่องทางเดียวกับที่กล่าวข้างต้นเอกสารประกอบการสมัครต้องถูกต้องตามรูปแบบและหัวข้อที่กำหนดไว้ด้านล่างทุกประการ ให้เน้นจุดแข็งและจุดอ่อนในด้านต่าง ๆ ของอุทยานธรณี และเอกสารจะถูกส่งให้กลุ่มอิสระของผู้เชี่ยวชาญทำการศึกษาที่ทำการตรวจสอบโครงการอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกโดยตรวจสอบเฉพาะจากเอกสารที่ส่งในสำนักงานเท่านั้น หัวข้อต่างๆ ต้องแสดงให้เห็นว่าพื้นที่อุทยานธรณีที่สมัครเข้ามามีการดำเนินการเสมือนเป็นอุทยานธรณีจริงและตรงตามหลักเกณฑ์ของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และจะพิจารณาว่าจะต้องทำการลงพิสูจน์ทราบในพื้นที่จริงหรือไม่ ถ้าเอกสารการสมัครได้รับการพิจารณาว่าสมบูรณ์และพร้อมสำหรับการประเมินแล้วสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council) จะเห็นชอบในผลการประเมินของพื้นที่ที่สมัครเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโด เอกสารการสมัครต้องแสดงให้เห็นชัดเจนว่ามีการดำเนินการเหมือนเป็นอุทยานธรณีมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี การสมัครไม่ต้องส่งโบรชัวร์ สิ่งพิมพ์ แผ่นพับ และอื่นๆมาด้วย แต่สามารถมอบให้ผู้ประเมินที่ทำการประเมินในภาคสนามได้

A –รายละเอียดข้อมูลพื้นที่
1. ชื่อของอุทยานธรณีที่สมัคร
2. ตำแหน่งที่ตั้งของอุทยานธรณีที่สมัคร (โปรดแนบแผนที่ทางภูมิศาสตร์และพิกัดทางภูมิศาสตร์ : ลองจิจูดและละติจูด)
3. ลักษณะของพื้นผิวภูมิประเทศ ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประชากรของอุทยานธรณีที่สมัคร
4. องค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลพร้อมโครงสร้างการบริหารจัดการ (คำบัญญัติหน้าที่และผังที่แสดงโครงสร้างองค์กรที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หน่วยงาน ภาระงานใน          ระดับต่างๆ ภายในองค์กร) ของอุทยานธรณีที่สมัคร
5. ผู้ประสานงานในการสมัคร (ชื่อ ตำแหน่ง โทรศัพท์/โทรสาร อีเมล)

B – มรดกทางธรณีวิทยา
1. รายละเอียดข้อมูลทั่วไปทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีที่สมัคร
2. บัญชีรายชื่อพร้อมรายละเอียดของแหล่งธรณีวิทยาในอุทยานธรณีที่สมัคร
3. รายละเอียดความน่าสนใจของแหล่งธรณีวิทยาที่เกี่ยวกับคุณค่าของแหล่งธรณีวิทยาในระดับต่างๆ เช่น ระดับนานาชาติ ระดับประเทศ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น (เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ การศึกษา ความงาม)
4. บัญชีรายชื่อพร้อมรายละเอียดของแหล่งประเภทอื่นๆ แหล่งมรดกทางธรรมชาติ วัฒนธรรมและมรดกที่จับต้องไม่ได้ เกี่ยวกับความน่าสนใจและสิ่งเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับแหล่งธรณีวิทยาอย่างไร และแหล่งเหล่านี้มีความผสมผสาน/รวมเข้ากับอุทยานธรณีที่สมัครอย่างไร

C – การอนุรักษ์ธรณีวิทยา
1. สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงในปัจจุบันหรืออาจจะเกิดขึ้นของอุทยานธรณีที่สมัคร
2. สภาพปัจจุบันขอการคุ้มครองแหล่งธรณีวิทยาภายในอุทยานธรณีที่สมัคร
3. ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการบำรุงรักษาแหล่งมรดกทั้งหมด (ทั้งแหล่งธรณีวิทยาและแหล่งประเภทอื่นๆ)

D – กิจกรรมด้านเศรษฐกิจและแผนธุรกิจ (รวมถึงรายละเอียดข้อมูลทางการเงิน)
1. กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจของอุทยานธรณีที่สมัคร
2. สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่หรือแผนการดำเนินงานในอนาคตของอุทยานธรณีที่สมัคร (เช่น การศึกษาธรณีวิทยา การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา การท่องเที่ยวโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น)
3. การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาของอุทยานธรณีที่สมัคร
4. ภาพรวมและนโยบายของการพัฒนาที่ยั่งยืนของในด้าน – การท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาและเศรษฐกิจ – การศึกษาด้านธรณีวิทยา – มรดกทางธรณีวิทยา (โปรดแนบตัวอย่างกิจกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินการในส่วนนี้)
5. นโยบายการส่งเสริมบทบาทของสู่ชุมชน พร้อมตัวอย่าง (การมีส่วนร่วมและการให้ข้อปรึกษา) ในพื้นที่อุทยานธรณีที่สมัคร
6. นโยบายความตระหนักรู้ของชุมชน พร้อมตัวอย่าง และผู้มีส่วนได้เสียในอุทยานธรณีที่สมัคร

E – ประโยชน์และข้อโต้แย้งของการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก


าคผนวก

ภาคผนวก1: เอกสารการประเมินตนเอง (สามารถหาได้จากเว็บไซต์ของยูเนสโก)

ภาคผนวก2: เอกสารเพิ่มเติมและทำแยกออกมาจากใบสมัครของส่วน B “มรดกทางธรณี” ขึ้นต้นด้วยบทสรุปทางธรณีวิทยาที่ไม่เกิน150 คำ (ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะใช้สำหรับการประเมินทางธรณีวิทยาในสำนักงานของ IUGS –InternationalUnion of Geological Science)

ภาคผนวก3: หลักฐานที่ชัดเจนที่แสดงให้เห็นการเห็นชอบจากหน่วยงานระดับท้องถิ่นและภูมิภาคที่เกี่ยวข้องและจดหมายที่แสดงการสนับสนุนจากหน่วยงานแห่งชาติที่ประสานงานกับยูเนสโก (สำหรับประเทศไทย คือ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ) หรือหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบในการประสานงานกับยูเนสโก

ภาคผนวก4: แผนที่ที่มีมาตราส่วนขนาดใหญ่ของอุทยานธรณีที่สมัครที่แสดงขอบเขตพื้นที่อุทยานธรณีอย่างชัดเจนและแสดงแหล่งธรณีวิทยา พิพิธภัณฑ์เมือง หมู่บ้านแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและมรดกทางธรรมชาติ สิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว รวมทั้งจุดหรือศูนย์ให้บริการข้อมูล สิ่งอำนวยความสะดวกด้านที่พัก ด้านพักผ่อนหย่อนใจ และด้านการคมนาคม / การเดินทางขนส่งสาธารณะทั้งหมด ขนาดของแผนที่ต้องมีมาตราส่วน 1:50,000 ซึ่งเป็นมาตราส่วนที่กำหนดไว้แต่หากไม่มีให้ใช้มาตราส่วนที่ใกล้เคียง

ภาคผนวก5: เอกสารสรุปทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์ จำนวน 1 หน้า ที่แสดงแผนที่รายละเอียดแสดงตำแหน่ง (ตัวอย่างสามารถดูได้จากเว็บไซต์ของยูเนสโก) https://www.unesco.org/en/iggp/geoparks/about