อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก จังหวัดตาก
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดตากได้ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก เป็นอุทยานธรณีในระดับท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ครอบคลุมพื้นที่ ๔ อำเภอของจังหวัดตาก ได้แก่ อำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก และอำเภอวังเจ้า รวมพื้นที่ ๕,๖๙๑ ตารางกิโลเมตร
อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๔๕ แห่ง แหล่งนิเวศวิทยา ๔ แห่ง และแหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์๑๓ แหล่ง รวม ๖๒ แหล่ง ดังนี้
- ่แหล่งธรณีวิทยา
- ๑. หินซ้อนวัดเขาถ้ำ ๒๔. หินกรวดมนห้วยแม่บอน
- ๒. หินควอตไซต์บ้านตลุกสัก ๒๕. หินแกรนิตผุวัดดอยเจดีย์
- ๓. หินไรโอไลต์เขาลาน้ำ ๒๖. ตะกอนแม่น้ำวัดบรมธาตุตาก
- ๔. สวนสาธารณะ แขวงทางหลวงตากที่ ๑ ๒๗. ตะกอนแม่น้ำเจดีย์ยุทธหัตถี
- ๕. สะพานหินห้วยปลาหลด ๒๘. ถ้ำเม่น
- ๖. เนินสูงเสียดฟ้าสำนักสงฆ์จุนโท ๒๙. ตะกอนไหลบ้านผาแต้ม-ท้องฟ้า
- ๗. ถ้ำจุนโท สำนักสงฆ์จุนโท ๓๐. ตะกอนไหลบ้านสันพระบาท
- ๘. เนินตะกอนวัดดอนข่อยเขาแก้ว ๓๑. หินแกรนิตพระพุทธบาทดอยโล้น
- ๙. หินแปรอุทยานแห่งชาติลานสาง ๓๒. น้ำตกแก่งห้วยตาก
- ๑๐. หินแกรนิตห้วยบวกหลวง ๓๓. หินแกรนิตห้วยแม่ไข
- ๑๑. หินแกรนิตผุหนองบัวเหนือ ๓๔. หินแปรหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์
- ๑๒. เนินตะกอนแม่น้ำวัดท่านา ๓๕. ศาลเจ้าพ่อเขาแก้ว
- ๑๓. หอนไนส์ทำเล่ ๓๖. ผาหินตัด
- ๑๔. หินแปรหัวยทำทราย ๓๗. ตะกอนไหลผาสามเงา
- ๑๕. หินแปรห้วยคลุกหิน ๓๘. ตะกอนไหลห้วยปางปุย
- ๑๖. ชั้นตะกอนปากทางเข้า อช.ไม้เป็นหิน ๓๙. เนินตะกอนพระธาตุจ๋อมสะหลีหมอกแก้ว
- ๑๗. ไม้กลายเป็นหินตาก ๔๐. หินแปรเขาหนาม
- ๑๘. ลานหินทรายวัดพระธาตุดอยงู ๔๑. แกรนิตเกาะวาเลนไทน์
- ๑๙. ปากแม่น้ำวัง ๔๒. ถ้ำโยคี
- ๒๐. หินทรายศาลเจ้าพ่อสะหลีปีมเมือง ๔๓. หินปูนเขาคันเบ็ด
- ๒๑. หนองพระบาท ๔๔. หินแกรนิตวัดพระธาตุผาไข้อินทร์แขวน
- ๒๒. หินแกรนิตตำบลแม่สลิด ๔๕. หินแกรนิตแก่งสร้อย
- ๒๓. อ่างเก็บน้ำห้วยชะลาด
- แหล่งนิเวศวิทยา
- ๑. อุทยานแห่งชาติลานสาง
- ๒. อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
- ๓. เขื่อนภูมิพล
- ๔. ป่าปรง
- แหล่งโบราณคดี วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์
- ๑. วัดดอยข่อยเขาแก้ว
- ๒. วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
- ๓. วัดพระธาตุแก่งสร้อย
- ๔. วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรือง
- ๕. พระธาตุจ๋อมสะหรีหมอกแก้ว
- ๖. วัดมณีบรรพตวรวิหาร
- ๗. ศาลหลักเมืองสี่มหาราช
- ๘. เจดีย์ยุทธหัตถี
- ๙. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
- ๑๐. ตรอกบ้านจีน
- ๑๑. ผาสามเงา
- ๑๒. อนุสรณ์ครกหินยักษ์แม่สลิด
- ๑๓. ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้ายชุมชนแม่ระวาน
ความสําคัญหรือความโดดเดนทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ
ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก ยาว 72.20 เมตร (69.70เมตร) มีหินหรือซากดึกดำบรรพ์ครบทุกมหายุคและเกือบทุกยุคในธรณีกาล ตั้งแต่มหายุคพรีแคมเบรียน พาลีโอโซอิก มีโซโซอิก และซีโนโซอิก ส่วน 12 ยุคย่อยของมหายุคดังกล่าว ก็มีถึง 11 ยุค (ขาดยุคจูแรสซิก) โดยมีทั้งหินแปร หินอัคนี และหินตะกอนมีลักษณะทางธรณีวิทยาเหมาะสมในการพัฒนาเขื่อนคอนกรีตโค้งสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูง 154 เมตร
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
- – ประสานงานกับหน่วยงานในจังหวัดเพื่อสนับสนุน และผลักดันการดำเนินงานอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก
- – สนับสนุนการพัฒนาแหล่งไม้กลายเป็นหินในเขตอุทยานแห่งชาติดอยสอยมาลัย (เตรียมการ) เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนโดยรอบ และจังหวัดตาก
- – สนับสนุนการอนุรักษ์แหล่งมรดกธรณีไม้กลายเป็นหินตาก โดยการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมรดกทางธรณีซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินให้เป็นที่รู้จักและยอมรับใน ระดับสากล โดยจะจัดให้มีการบันทึกสถิติโลก Guinness World Record ไม้กลายเป็นหินที่ยาวที่สุดในโลก
- – แต่งตั้งผู้อำนวยการอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก และจัดตั้งคณะอำนวยการอุทยานธรณี
- ไม้กลายเป็นหินตาก
- – ประสานงานกับจังหวัดตาก ในการจัดส่งแบบมาตรฐานงานก่อสร้าง โครงการพัฒนาแหล่งไม้กลายเป็นหินสู่การท่องเที่ยวระดับโลก จังหวัดตาก เพื่อให้ทางจังหวัดตากร่วมผลักดันโครงการให้เข้าสู่แผนยุทธศาสตร์จังหวัด ต่อไป
- – ประชุมร่วมกันระหว่าง ทธ. ปตท. และสมาคมธรณีฯ เกี่ยวกับแนวทางการจัดกิจกรรมและสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนกิจกรรม
- – ส่งเสริม สนับสนุนการอนุรักษ์และการดำเนินงานอื่นๆ เช่น จัดทำสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เส้นทางการท่องเที่ยว การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย YouTube (Chanel geology road tour)กิจกรรมค่ายเด็กรักษ์ไม้ตากงานอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหินหลุมที่ 1
- – รวบรวม ศึกษา สำรวจ ตรวจสอบ ข้อมูลธรณีวิทยาในแหล่งอุทยานธรณี
- – เผยแพร่องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาในพื้นที่อุทยานธรณี เช่น เผยแพร่องค์ความรู้ด้านธรณีวิทยาให้โรงเรียนในพื้นที่อุทยานธรณีจัดประชุมสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “ความโดดเด่นทางธรณีวิทยาของอุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก”