อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

ข้อมูลทั่วไป

จังหวัดเพชรบูรณ์ได้มีประกาศ เรื่อง จัดตั้งอุทยานธรณีเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑
อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ครอบคลุมพื้นที่ ๓ อำเภอ ทางตอนเหนือของจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ อำเภอน้ำหนาว หล่มสัก และเมืองเพชรบูรณ์ มีพื้นที่ ๔,๔๓๖ ตารางกิโลเมตร

อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๒๒ แหล่ง แหล่งธรรมชาติวิทยา ๑๐ แหล่ง
แหล่งวัฒนธรรม ๑๒ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๓๓ แหล่ง ดังนี้

  • แหล่งธรณีวิทยา
  • ๑. ถ้ำใหญ่น้ำหนาว                                  
  • ๒. แคนยอนน้ำหนาว                                
  • ๓. น้ำตกตาดใหญ่                                
  • ๔. ผารอยตีนอาร์โคซอร์                            
  • ๕. เลยดั้น                                          
  • ๖. ภูผาแดง                                           
  • ๗. ถ้ำผาหงส์                                  
  • ๘. สะพานห้วยตอง                                
  • ๙. ชั้นหินแบบฉบับหมวดหินน้ำดุก             
  • ๑๐. ฟอสซิลกระดูกโปรซอโรพอด                  
  • ๑๑. โนนหัวโล้น แคนยอนหล่มสัก
  • ๑๒. โคกเดิ่นฤาษี
  • ๑๓. น้ำก้อ-น้ำชุน
  • ๑๔. ห้วยร่อนทอง
  •  ๑๕. น้ำตกธารทิพย์
  • ๑๖. ฟอสซิลปลาน้ำจืดบ้านหนองปลา
  • ๑๗. ฟอสซิลปลาน้ำจืดบ้านท่าพล
  • ๑๘. ไม้กลายเป็นหิน
  • ๑๙. ซากดึกดำบรรพ์หอยน้ำจืด
  • ๒๐. หินกรวดมนบ้านนางั่ว
  • ๒๑. ฟิวซูลินิด สำนักสงฆ์เต็มสิบ                  
  • ๒๒. อุกกาบาตร่องดู่
  • แหล่งธรรมชาติวิทยา
  • ๑. ผาสวรรค์                                     
  • ๒. ผารอยพระบาท                                
  • ๓. น้ำตกถ้ำค้างคาว                                 
  • ๔. น้ำตกพรานบา                              
  • ๕. น้ำตกวงพระจันทร์
  •  ๖. ป่าเปลี่ยนสี
  • ๗. เส้นทางเดินป่าน้ำหนาว
  • ๘. น้ำตกวังหินลาด
  • ๙. น้ำตกตาดหมอก
  • แหล่งวัฒนธรรม
  • ๑. วัดห้วยสนามทราย                              
  • ๒. ศาลเจ้าพอผาแดง                               
  • ๓. อนุสรณ์เมืองราด                              
  • ๔. วัดท่ากกแก                                     
  • ๕. พิพิธภัณฑ์หล่มศักดิ์                                 
  • ๖. อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง
  • ๗. ถ้ำฤษีสมบัติ
  • ๘. เสาหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์
  • ๙. พุทธอุทยานเพชบุระ
  • ๑๐. หอโบราณคดีเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย
  • ๑๑. ศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์                        
  • ๑๒. อุทยานวิทยาศาสตร์หนองนารี

อุทยานธรณีเพชรบูรณ์มีความสำคัญโดดเด่นทางธรณีวิทยา ๓ ประการ ได้แก่

  • ๑.แนวคดโค้งเลย-เพชรบูรณ์ เป็นหลักฐานที่สำคัญของการชนกันของแผ่นเปลือกโลกอินโดจีนและชาน-ไทย ซึ่งนักวิจัยจากทั่วโลกเห็นความสำคัญและให้ความสนใจเดินทางมาศึกษาวิจัยในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
  • ๒. ผารอยตีนอาร์โคซอร์ เป็นการพบรอยตีนของสัตว์เลื้อยคลานพวกอาร์โคซอร์ครั้งแรกและมีความเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังมีแนวทางเดินยังมีความต่อเนื่องยาวมากที่สุดมากกว่า ๑๐๐ เมตร
  • ๓. พื้นทะเลโบราณและการสะสมตะกอนคาร์บอเนตอย่างต่อเนื่อง บริเวณถ้ำใหญ่น้ำหนาวเป็นหลักฐานการลำดับชั้นหินและซากดึกดำบรรพ์สามารถบ่งบอกอายุการสะสมตัวได้ตั้งแต่ช่วงยุคเพอร์เมียนตอนต้นจนถึงเพอร์เมียนตอนปลาย ซึ่งเป็นความสำคัญทางธรณีวิทยาที่หาพบได้ยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ไม่กว้างใหญ่มากนัก

ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

  • ๑.การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนภาคเกษตร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ๑ และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๑ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๑ มีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในรายละเอียดการผลักดันแหล่งธรณีวิทยาจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นอุทยานธรณีโลกตามขั้นตอนต่อไป
  • ๒. คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี รับรองอุทยานธรณีเพชรบูรณ์เป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๖๓ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในปี ๒๕๖๗