อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี
ข้อมูลทั่วไป
อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี ได้จัดตั้งและประกาศเป็นอุทยานธรณีท้องถิ่นเมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ครอบคลุม ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอสิรินธร อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ และอำเภอโพธิ์ไทร มีพื้นที่ ๑,๙๙๔ ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก แบ่งพื้นที่ตามธรณีวิทยาเป็น ๓ โซน ประกอบด้วย
- ๑. ดินแดนแห่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย ตำบลนาคำ ตำบลสงยาง ตำบลนาเลิน และตำบลลาดควาย อำเภอศรีเมืองใหม่
- ๒. แหล่งธรรมชาติแปลกตา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติผาแต้มบางส่วนของอำเภอโพธิ์ไทรในเขตตำบลสองคอน ตำบลเหล่างาม และตำบลสำโรง บางส่วนของอำเภอศรีเมืองใหม่ในเขตตำบลหนามแท่ง และบางส่วนของอำเภอโขงเจียมในเขตตำบลห้วยไผ่ และตำบลนาโพธิ์กลาง
- ๓. เขตแม่น้ำสองสี ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม และตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอสิรินธร
อุทยานธรณีผาชันสามพันโบกประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๔๒ แหล่งแหล่งโบราณคดีและแหล่ง วัฒนธรรม ๘ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๕๐ แหล่งดังนี้
-
แหล่ธรณีวิทยา
- ๑. กลุ่มเสาเฉลียง วัดผานางคอย
- ๒. แก่งตะนะ
- ๓. แก่งสเลกอน
- ๔. ถ้ำเจีย
- ๕. ถ้ำปาฏิหาร์ย
- ๖. ถ้ำพระ
- ๗. ถ้ำมืด
- ๘. น้ำตกกิ๊ด
- ๙. น้ำตกตาดโตน
- ๑๐. น้ำตกโบกลึก
- ๑๑. น้ำตกผาหลวง
- ๑๒. น้ำตกสร้อยสวรรค์
- ๑๓. น้ำตกแสงจันทร์
- ๑๔. น้ำตกห้วยนาเมืองใหม่
- ๑๕. น้ำตกห้วยพอก
- ๑๖. โบกแก่งสร้อย
- ๑๗. ปากบ้อง
- ๑๘. ผาเจ๊ก
- ๑๙. ผาชนะได
- ๒๐. ผาชัน
- ๒๑. ผาแต้ม
- ๒๒. ผาเมย
- ๒๓. ผาวัดใจ-สองคอน
- ๒๔. ผาชัน-ผาสิลาเลข
- ๒๕. ภูอานม้า
- ๒๖. แม่น้ำสองสี
- ๒๗. สามพันโบก
- ๒๘. ลานผาผึ้ง
- ๒๙. สวนหินสีประกายแสง
- ๓๑. สามหมื่นรู
- ๓๒. เสาเฉลียง บ้านโป่งเป้า
- ๓๓. เสาเฉลียงคู่
- ๓๔. เสาเฉลียงยักษ์
- ๓๕. เสาพญาครุฑ
- ๓๖. เสาระเบียง ภูจันทร์แดง
- ๓๗. หาดวิจิตรา – แก่งพิสมัย
- ๓๘. หาดสลึง
- ๓๙. หาดหงส์ – ภูกองข้าว
- ๔๐. หินเต่าชมจันทร์
- ๔๑. ภูสะมุย
- ๔๒. แหล่งไดโนเสาร์ยุคสุดท้าย
- แหล่งโบราณคดีและแหล่งวัฒนธรรม
- ๑. ถ้ำขาม – สูบหิน
- ๒. ถ้ำนางเข็ญฝ้าย
- ๓. ผาหมอน
- ๔. ภูหล่น
- ๕. โหง่นแต้ม
- ๖. ภูโลง
- ๗. ภาพเขียนสีผาแต้ม
- ๘. รอยเกวียนโบราณ
ความสําคัญหรือความโดดเด่นทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ อุทยานธรณีผาชันสามพันโบกมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่โดดเด่นระดับนาชาติ ๓ ด้าน ประกอบด้วย
- ๑. แหล่งซากดึกดําบรรพ่ไดโนเสาร่ยุคสุดท้าย ที่มีอายุของไดโนเสาร์อ่อนที่สุดในประเทศไทย
- ๒. แหล่งสามพันโบก ที่คาดว่าน่าจะมีโบกหรือกุมภลักษณ์มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน
- ๓. แหล่งสามหมื่นรู มีรูของพื้นผิวของหินทรายที่มีความยาวของพื้นที่ที่มีรูคาดว่าน่าจะมากที่สุดในอาเซียน
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
- ๑.คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี ได้รับการรับรองอุทยานธรณีผาชันสามพันโบกเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๒ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในเดือนเมษายน ๒๕๖๖
- ๒. ปัจจุบัน กรมทรัพยากรธรณีร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสถาบันการศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี ในการส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนายกระดับอุทยานธรณีผาชัน สามพันโบก เช่น การอบรมให้ความรู้แก่มัคคุเทศก์ในพื้นที่ การสนับสนุนการจัดทำแหล่งเรียนรู้ทางธรณีวิทยาในพื้นที่และสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น
- ๓. ผู้ประเมินภาคสนามได้ดำเนินการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๔ – ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๖ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินภาคสนามเพื่อเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการประเมินภาคสนามดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป