อุทยานธรณีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดขอนแก่น ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีขอนแก่น เป็นอุทยานธรณีในระดับท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ครอบคลุมพื้นที่ ๒ อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูเวียง และอำเภอเวียงเก่า รวมพื้นที่ประมาณ ๑,๐๓๘ ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีขอนแก่น ประกอบด้วย แหล่งธรณีวิทยา ๒๖ แหล่ง แหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรม ๒๕ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๕๑ แหล่ง ดังนี้
- แหล่งธรณีวิทยา
- ๑.อุทยานแห่งชาติภูเวียง
- ๒. ลานยูเรเนียม
- ๓. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๓) ห้วยประตูตีหมา
- ๔. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๑) ภูประตูตีหมา
- ๕. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๒) ถ้ำเจีย
- ๖. สุสานหอย ๑๓๐ ล้านปี
- ๗. แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ (หลุม ๙) หินลาดยาว
- ๘. ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์
- ๙. น้ำตกวังสักสิ่ว
- ๑๐. แหล่งรอยตีนไดโนเสาร์ (หลุม8) หินลาดป่าชาด
- ๑๑. น้ำตกตาดฟ้า
- ๑๒. น้ำตกแก้งม่วง
- ๑๓. ผาชมตะวัน
- ๑๔. หลุมขุดค้นซําหญ้าคา
- ๑๕. หลุมขุดค้นภูน้อย
- ๑๖. ถ้ำหินลาดหัวเมย
- ๑๗. เสาเฉลียง
- ๑๘. น้ำตกทับพญาเสือ
- ๑๙. ถ้ำฝามือแดง
- ๒๐. อพ.สธ. โคกภูตากา
- ๒๑. อุทยานศรีเวียง
- ๒๒. ผาเทิบ
- ๒๓. ลานตากหมอก
- ๒๔. เกาะกุดหิน
- ๒๕. หาดสวรรค์
- ๒๖. พัทยา ๒
- แหล่งธรรมชาติและแหล่งวัฒนธรรม
- ๑. เดินป่าดูผีเสื้อ(ทางเข้าน้ำตกตาดฟ้า)
- ๒. ต้นยางใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ๓. โรงเรียนภูเวียงวิทยายน(ตึกเหลือง)
- ๔. วัดนายมวนาราม
- ๕. วัดจันทร์เขมาราม
- ๖. วัดอรัญญิกาวาส
- ๗. วัดจันทราราม
- ๘. วัดพลแพง
- ๙. วัดทรงศิลา(ถ้ำกวาง)
- ๑๐. วัดป่ากิตติญาณุสรณ์
- ๑๑. วัดแก้วจักรพรรดิ์
- ๑๒. วัดมิ่งเมืองพัฒนา
- ๑๓. วัดทุ่งจําปา
- ๑๔. ศาลเจ้าจอมนรินทร์
- ๑๕. หาดสวรรค์-หมู่บ้านควาย
- ๑๖. ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติบ้านกล้วย
- ๑๗. กลุ่มหัตถกรรมผ้ามัดย้อม
- ๑๘. กลุ่มทอฝ้ายบ้านนาชุมแสง
- ๑๙. ไร่เวียงชมพู(สวนผักหวานป่า)
- ๒๐. ไร่พลอยตะวันเห็ดแปรรูป
- ๒๑. สินค้าชุมชนบ้านหนองคู
- ๒๒. ตลาดวิถีชุมชนหนองคู
- ๒๓. กลุ่มเกษตรกรชาวเวียง
- ๒๔. สวนผักหวานศิริธรรมจักร
- ๒๕. ชุมชนนาตาด-หินลาด
ความสําคัญหรือความโดดเด่นทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ
- มีความสำคัญโดดเด่นทางธรณีวิทยาในด้านแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ซึ่งถือว่าเป็น”อาณาจักรไดโนเสาร์” ของประเทศไทย เนื่องจากมีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกถึง ๕ สายพันธุ์ คือ สยามโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurussuteethorni) ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน(Phuwiangosaurussirindhornae) สยามโมไทรันนัสอีสานเอนซิส (Siamotyrannusisanensis) กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส(Kinnareemimuskhonkaenensis)และภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ (Phuwiangvenatoryaemniyomi) และยังพบกระดูกหน้าแข้งของไดโนเสาร์ในกลุ่มคอมป์ซอกนาธัส ไดโนเสาร์ที่พบมีทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ กินพืชและกินสัตว์ ตัวเต็มวัยและวัยเยาว์
ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
- ๑.คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณีรับรองให้อุทยานธรณีขอนแก่นเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในปี ๒๕๖๗
- ๒.จังหวัดขอนแก่น ได้มีหนังสือ หนังสือศาลากลางจังหวัดขอนแก่นที่ ขก ๐๐๑๔.๓/๒๖๐๗ ลงวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ เสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณีพิจารณาถึงความจำนงในการสมัครเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และขอความอนุเคราะห์กรมทรัพยากรธรณีสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าว
- ๓.คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่๒๑มิถุนายน๒๕๖๕ เห็นชอบให้อุทยานธรณีขอนแก่นสมัครเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) โดยยูเนสโกส่งผู้ประเมินภาคสนามลงพื้นที่เมื่อวันที่ ๒๑ – ๒๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ และจะมีการพิจารณาผลการประเมินในการประชุมสภาอุทยานธรณีโลกซึ่งเป็นการประชุมคู่ขนานในการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ครั้งที่ ๑๐ ณ ประเทศโมร็อคโค