อุทยานธรณีโคราช จังหวัดนครราชสีมา
ข้อมูลทั่วไป
จังหวัดนครราชสีมา ได้ประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีโคราช เป็นอุทยานธรณีท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ ครอบคลุม ๕ อำเภอ ประกอบด้วย อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอขามทะเลสอ อำเภอเมืองนครราชสีมา และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีพื้นที่ทั้งสิ้น ๓,๑๖๗.๓๘ ตารางกิโลเมตร
อุทยานธรณีโคราชมีแหล่งธรณีวิทยา ๒๔ แหล่ง แหล่งธรรมชาติ ๓ แหล่ง และแหล่งวัฒนธรรม ๘ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๓๕ แหล่ง ดังนี้
- แหล่งธรณีวิทยา
- ๑. พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหินฯ
- ๒. แหล่งไดโนเสาร์โคราช
- ๓. บ่อดินภูเขาทอง
- ๔. พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์โคกสูง
- ๕. บ่อเกลือหนองสรวง
- ๖. บ่อดินโป่งแดง
- ๗. พิพิธภัณฑ์ซากดึกดำบรรพ์ตำบลท่าช้าง
- ๘. บ่อทรายบ้านพระพุทธ
- ๙. กุมภลักษณ์มอจะบก
- ๑๐. แหล่งหินตัดสีคิ้ว
- ๑๑. วัดป่าเขาหินตัด
- ๑๒. ถ้ำเขาจันทน์งามและภาพเขียนสี
- ๑๓. ผายายเที่ยง
- ๑๔. จุดชมวิวเขายายเที่ยง
- ๑๕. หินทรายเขียวซับกระสังข์
- ๑๖. ผาบุคา
- ๑๗. วัดพระพุทธบาทคีรีวันน์เขาพริก
- ๑๘. น้ำตกวะภูแก้ว
- ๑๙. วัดป่าภูผาสูง
- ๒๐. น้ำตกวังเณร
- ๒๑. พุบาดาล
- ๒๒. วัดเขาขาด
- ๒๓. เขาสามสิบส่าง
- ๒๔. แหล่งหินตัดสูงเนิน
- แหล่งธรรมชาติ
- ๑. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ หนองระเวียง
- ๒. ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ คลองไผ่
- ๓. สวนพฤกษศาสตร์ มทส.
- แหล่งวัฒนธรรม
- ๑. กำแพงประตูชุมพลและอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี
- ๒. พิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา
- ๓. ปราสาทหินพนมวัน
- ๔. เมืองเสมา
- ๕. พระนอน
- ๖. ปราสาทเมืองแขก
- ๗. ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราชฯ บ้านยวน
- ๘. ตลาดน้ำฉ่า
ความสําคัญหรือความโดดเดนทางธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ อุทยานธรณีโคราช มีจุดเด่นสำคัญที่สุดในทางธรณีวิทยา ๕ ประการ รวมทั้งองค์ประกอบร่วมดังต่อไปนี้
- ๑. ความหลากหลายทางชีวภาพของฟอสซิลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคนีโอจีนและควอเทอร์นารี ในแหล่งตำบลท่าช้างและปริมณฑล ในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ กับแหล่งตำบลโคกสูง ในอำเภอเมืองนครราชสีมา
- ๒.แหล่งฟอสซิลไดโนเสาร์อิกัวโนดอนต์และสัตว์ร่วมยุคสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ๓.แหล่งฟอสซิลไม้กลายเป็นหินหลากหลายชนิดและสีสันที่สำคัญของอินโดจีน
- ๔.พื้นที่แบบฉบับ (type section area) ของหมวดหินโคกกรวดในกลุ่มหินโคราช (Khorat Group)
- ๕.มีภูมิประเทศเควสตาโดดเด่นที่เป็นส่วนหนึ่งของเควสตาโคราชที่ยาวที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน
- ๑.คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี ได้รับการรับรองอุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๑ และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยในเดือนเมษายน ๒๕๖๕
- ๒.อุทยานธรณีโคราชได้แสดงความจำนงที่จะสมัครเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และเสนอเอกสารต่อคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๒
- ๓.คณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี มีมติในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๖๒ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๒ เห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีโคราชเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
- ๔. กรมทรัพยากรธรณี เสนอเรื่องเข้าสู่คณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบในการสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อคราวการประชุมเมื่อวันที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ให้อุทยานธรณีโคราชสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
- ๕.อุทยานธรณีโคราชได้จัดส่งหนังสือแสดงความจำนงค์ (Letter of Intent) เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๓ และเอกสารการสมัครผ่านกระทรวงศึกษาธิการ (สานักงานเลขาธิการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ: NETCOM) ไปยังยูเนสโกเมื่อ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓
- ๖.ยูเนสโกได้ตรวจประเมินคุณค่าทางวิชาการด้านธรณีวิทยาของอุทยานธรณีโคราชและพบว่ามีความสำคัญโดดเด่นระดับโลก เนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด19 ทำให้ยูเนสโกเลื่อนกำหนดการประเมินภาคสนามออกไป และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงจึงส่งผู้ประเมินภาคสนาม จำนวน ๒ ราย ได้แก่ Dr. Marie Luise Frey จากประเทศเยอรมนี และ Ms. Sarah Gamble จากประเทศแคนาดา ตรวจประเมินภาคสนามของอุทยานธรณีโคราชในการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลก ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ โดยผู้ประเมินได้ทำรายงานเสนอไปยังยูเนสโกพิจารณาในการประชุมสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council Meeting) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔ – ๕ กันยายน ๒๕๖๕ โดยเป็นการประชุมคู่ขนานในงานประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ ๗ (The 7th Asia Pacific Geoparks Network (APGN) Symposium) ระหว่างวันที่ ๔ – ๑๑ กันยายน ๒๕๖๕ ณ อุทยานธรณีโลกสตูล จังหวัดสตูล ซึ่งที่ประชุมมีมติพิจารณาคุณสมบัติของอุทยานธรณีโคราชว่าครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ และนำมติดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโก
- ๗. คณะกรรมการบริหารของยูเนสโก ในการประชุมครั้งที่ ๒๑๖ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๐ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ องค์การยูเนสโกสำนักงานใหญ่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศสได้รับรองอุทยานธรณี จำนวน ๑๘ แห่ง รวมทั้งอุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก โดยได้ส่งหนังสือแจ้งผลอย่างเป็นทางการกับอุทยานธรณีโคราช และประกาศในเว็บไซต์ของยูเนสโก (https://www.unesco.org) โดยรับรองให้อุทยานธรณีโคราชเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกระยะเวลา ๔ ปี ตั้งแต่วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๖ – ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๙๐ และประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกในปี ๒๕๖