แนวทางการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์แต่ละประเภท

การบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์ทั้ง ๗ ประเภท มีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะทางธรณีวิทยาของแหล่งนั้นๆ จึงมีแนวทางเบื้องต้นส าหรับหน่วยงานที่ก ากับดูแลพื้นที่ของแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์แต่ละประเภทนำไปใช้เพื่อการวางแผนบริหารจัดการแหล่งให้มีความเหมาะสมและเกิดการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยา ทั้งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างภาคีการทำงานร่วมกันของหน่วยงานสนับสนุนข้อมูลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเหมาะสมด้วยแนวทางการบริหารจัดการเบื้องต้นของแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาของแต่ละประเภท มีดังต่อไปนี้

๑. แหล่งแร่แบบฉบับ
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งแร่แบบฉบับควรพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ซึ่งควรกำหนดเขตแหล่งแร่แบบฉบับไว้เพื่อการศึกษาวิจัย และเรียนรู้เป็นการเฉพาะ อาจจัดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งแร่แบบฉบับได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิชาการควบคู่กับสันทนาการ กิจกรรมที่จัด เช่นจำลองสภาพการทำเหมืองให้เสมือนจริง หรือมีการจัดพื้นที่แสดงกิจกรรมการทำเหมืองแร่ ทั้งนี้หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ต้องกำหนดระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเหมาะสม ซึ่งแหล่งแร่แบบฉบับสามารถอยู่ในพื้นที่ที่มีการทำเหมืองแร่ หรืออาจดำเนินการภายหลังเลิกการทำเหมืองแร่ไปแล้วก็ได้ แหล่งแร่แบบฉบับจะเป็นแหล่งที่ใช้สำหรับอ้างอิงทางวิชาการ
การบริหารจัดการแหล่งแร่แบบฉบับควรมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ๑) ศึกษาศักยภาพของแหล่งในด้านขีดความสามารถในการรองรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือศึกษาวิจัยในพื้นที่
  • ๒) ศึกษาและดำเนินการด้านความปลอดภัยในพื้นที่ที่เป็นเขตแสดงแหล่งแร่แบบฉบับแก่ผู้เข้าชมอย่างเหมาะสม

๒. แหล่งหินแบบฉบับ
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งหินแบบฉบับควรพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ซึ่งควรกำหนดเขตแหล่งหินแบบฉบับไว้เพื่อการศึกษาวิจัย และเรียนรู้เป็นการเฉพาะ อาจจัดให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่แหล่งหินแบบฉบับได้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้วิชาการควบคู่กับสันทนาการ ทั้งนี้หน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ต้องกำหนดระเบียบที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเหมาะสม แหล่งหินแบบฉบับจะเป็นแหล่งที่ใช้สำหรับอ้างอิงทางวิชาการการบริหารจัดการแหล่งหินแบบฉบับควรมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ๑) ให้มีความสำคัญกับขอบเขตของแหล่งหินแบบฉบับที่ชัดเจนหรือตำแหน่งที่พบเห็นแหล่งหินแบบฉบับที่ชัดเจน
  • ๒) จัดทำแนวเขตบริเวณตัวแหล่งเพื่อป้องกันการสัมผัสจากผู้เยี่ยมชมแหล่ง
  • ๓) ศึกษาศักยภาพของแหล่งในด้านขีดความสามารถในการรองรับผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมหรือศึกษาวิจัยในพื้นที่

๓. ธรณีวิทยาโครงสร้าง
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์ประเภทธรณีวิทยาโครงสร้างซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย ควรพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งศึกษาเรียนรู้ รวมทั้งการศึกษาวิจัยอีกทั้งต้องคำนึงถึงลักษณะของธรณีวิทยาโครงสร้างซึ่งส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงต่อการผุพังโดยธรรมชาติได้ง่ายแนวทางการบริหารจัดการธรณีวิทยาโครงสร้างควรมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ๑) อนุรักษ์สภาพธรรมชาติเดิมให้มากที่สุด ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายและการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
  • ๒) ควรมีแผนการป้องกันความเสี่ยงของแหล่งตามลักษณะพื้นที่เนื่องจากธรณีวิทยาโครงสร้างจะมีความเสี่ยงต่อการผุพังโดยธรรมชาติโดยง่าย เช่น การจัดทำแนวเขตบริเวณตัวแหล่งเพื่อป้องกันการสัมผัสจากผู้เยี่ยมชมแหล่ง

๔. ธรณีสัณฐาน
แหล่งธรณีสัณฐานซึ่งมีหลายประเภท ได้แก่ ภูเขา ถ้ำ น้ำตกและชายหาดซึ่งแหล่งธรณีวิทยาอันควรอนุรักษ์ประเภทนี้มีจำนวนมากในประเทศไทย แนวทางการบริหารจัดการต้องพิจารณาเป็นพื้นที่ซึ่งอาจมีหลายแหล่ง และพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ การศึกษาวิจัย รวมทั้งหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ต้องออกระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเหมาะสมแนวทางการบริหารจัดการธรณีสัณฐานควรมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ๑) อนุรักษ์เพื่อให้ดำรงสภาพธรรมชาติเดิมให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงระบบนิเวศโดยรวมของพื้นที่ซึ่งต้องสอดคล้องกับกฎหมายและการใช้ประโยชน์ที่ดินของหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
  • ๒) จัดทำผังการใช้ที่ดินในพื้นที่แหล่ง การแบ่งเขตการใช้พื้นที่ หรือการกำหนดพื้นที่แหล่งทางธรณีวิทยาเพื่อกำหนดขอบเขตการอนุรักษ์ที่เหมาะสม เช่น การวางตำแหน่งสิ่งก่อสร้างที่เหมาะสม และไม่แออัดมากเกินไปการสร้างสิ่งก่อสร้างให้มีความกลมกลืนกับสภาพธรรมชาติ
  • ๓) ควรมีแผนการป้องกันความเสี่ยงของแหล่งตามลักษณะพื้นที่ เนื่องจากธรณีสัณฐานบางแหล่งมีความเสี่ยงต่อการผุพังโดยธรรมชาติโดยง่าย ได้แก่ ภูมิลักษณ์จากการผุพังสึกกร่อนของหิน เช่น หอนางอุษาในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท สวนหินเทิน และภูมิลักษณ์จากการผุพังสึกกร่อนของตะกอน เช่น แพะเมืองผีเสาดินนาน้อย ละลุ เป็นต้น การจัดทำแนวเขตบริเวณตัวแหล่งเพื่อป้องกันการสัมผัสจากผู้เยี่ยมชมแหล่งลดการเหยียบย่ำบริเวณแหล่ง การใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่น ใช้ไฟฉายเพื่อให้แสงสว่างภายในถ้ำและลดการรบกวนสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตในถ้ำ ติดตั้งป้ายระเบียบการเยี่ยมชมสถานที่

๕. พุน้ำร้อน
แนวทางการบริหารจัดการพุน้ำร้อนควรพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจและแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (อาบน้ำแร่) แนวทางการบริหารจัดการแหล่งน้ำพุร้อน ควรมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

  • ๑) ในการต่อเติมในพื้นที่ต้องมีความกลมกลืนกับธรรมชาติเดิมให้มากที่สุด หรือการใช้ประโยชน์ให้เหมาะสมกับระบบนิเวศและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนในท้องถิ่น
  • ๒) จัดทำผังการใช้ที่ดินในพื้นที่แหล่ง การแบ่งเขตการใช้พื้นที่หรือการกำหนดพื้นที่แหล่งทางธรณีวิทยาเพื่อกำหนดขอบเขตการอนุรักษ์ที่เหมาะสมไม่ใกล้แหล่งพุน้ำร้อนจนเกิดความเสียหายต่อแหล่ง
  • ๓) ให้มีการควบคุมคุณภาพน้ำได้แก่ ๑) กรองน้ำเบื้องต้นเพื่อนำสิ่งปะปนในแหล่งน้ำแร่ออกก่อนนำไปให้บริการ ๒) เปลี่ยนถ่ายน้ำสำหรับบ่อแช่รวม (สาธารณะ) ควรใช้ระบบน้ำล้นในการเปลี่ยนถ่ายน้ำและสำหรับบ่อแช่ส่วนตัว ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกครั้งหลังให้บริการ ๓) ล้างทำความสะอาดบ่อแช่รวม (ไม่น้อยกว่า ๒ ครั้งต่อสัปดาห์) และบ่อแช่ส่วนตัว (ทุกครั้งหลังให้บริการ) 
  • ๔) ท่อส่งน้ำควรมีความปลอดภัยและทนทาน ใช้วัสดุที่เหมาะสมกับอุณหภูมิของน้ำและไม่ทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุตามธรรมชาติในน้ำร้อน และ 
  • ๕) น้ำแร่ที่ให้บริการแล้วต้องไม่นำกลับมาให้บริการอีก
  • ๔) ควรกำหนดมาตรการในการติดตามตรวจสอบผลกระทบจากกิจกรรมการให้บริการพุน้ำร้อนต่อระบบนิเวศ
  • ๕) จัดสิ่งอำนวยความสะดวกภายในพื้นที่ให้บริการบ่อน้ำร้อน ได้แก่ ๑) ควรมีระบบถ่ายเทอากาศที่ถูกสุขลักษณะ และมีแสงสว่างเพียงพอสำหรับบริเวณที่ให้บริการ ๒) ควรใวัสดุปูพื้นที่ง่ายต่อการทำความสะอาดและในบริเวณที่เปียกควรใช้วัสดุพื้นผิวกันลื่นหรือกระเบื้องที่มีผิวสัมผัสหยาบ ๓) ทางเดินภายในพื้นที่ที่ให้บริการต้องมีความสะอาด ปลอดภัย และมีแสงสว่างเพียงพอ และ ๔) ขนาดของบ่อแช่ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับการให้บริการเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้บริการ
  • ๖) จัดให้มีพนักงานที่มีความรู้ ความเข้าใจ คอยให้คำแนะน าแก่ผู้ใช้บริการ ตรวจตราดูแลการใช้บริการทั้งในขณะใช้ และหลังใช้บริการ และมีการจดบันทึกอ่านวัดค่าอุณหภูมิเป็นประจำทุกวัน เพื่อการนำมาวิเคราะห์คุณภาพของน้ำร้อน

 
๖. ลำดับชั้นหินแบบฉบับ
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งลำดับชั้นหินแบบฉบับควรพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางวิชาการ และเพื่อใช้สำหรับอ้างอิงทางวิชาการ ซึ่งควรกำหนดเขตลำดับชั้นหินแบบฉบับสำหรับศึกษาวิจัย และเรียนรู้ไว้ รวมทั้งหน่วยงานผู้ดูแลพื้นที่ต้องออกระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเหมาะสมการบริหารจัดการแหล่งลำดับชั้นหินแบบฉบับ ควรมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ๑) ให้ความสำคัญกับขอบเขตของลำดับชั้นหินแบบฉบับ หรือตำแหน่งที่พบลำดับชั้นหินแบบฉบับ
  • ๒) จัดทำแนวเขตบริเวณตัวแหล่งเพื่อป้องกันการสัมผัสจากผู้เยี่ยมชมแหล่ง

 
๗. ซากดึกด้าบรรพ์
แนวทางการบริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ได้แก่ ซากไดโนเสาร์ หอย สัตว์ประเภทต่างๆ และไม้กลายเป็นหิน ควรพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้และแหล่งศึกษาวิจัยทางวิชาการการบริหารจัดการแหล่งซากดึกดำบรรพ์ ควรมีการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • ๑) ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ของซากดึกดำบรรพ์ และแหล่งที่พบ เพื่อจัดแบ่งเขตการใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน ได้แก่ พื้นที่สงวนสำหรับเป็นแหล่งขุดค้นซากดึกดำบรรพ์ พื้นที่พัฒนาสำหรับเป็นพื้นที่จัดแสดงหรือพิพิธภัณฑ์ พื้นที่อำนวยความสะดวก และพื้นที่สำหรับร้านค้า
  • ๒) กำหนดกิจกรรมที่เหมาะสมในเขตพื้นที่ต่างๆ และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและเสียหายต่อคุณค่าของแหล่ง รวมถึงการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างในเขตพื้นที่
  • ๓) เก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ไว้ในพิพิธภัณฑ์ หรือในอาคาร เพื่อเป็นการอนุรักษ์แหล่ง และเพื่อประโยชน์ในการศึกษานอกจากที่กำหนดแนวทางการบริหารจัดการแหล่งธรณีวิทยาไว้ในเบื้องต้นนี้แล้ว การอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้
  • ๑. การคุ้มครอง การอนุรักษ์แหล่ง
  • ๒. การเผยแพร่ความรู้
  • ๓. การมีส่วนร่วม
  • ๔. การรักษาความปลอดภัย
  • ๕. สิ่งอำนวยความสะดวก
  • ๖. การเข้าถึงแหล่ง
  • ๗. การท่องเที่ยวเขิงธรณีวิทยาและเชิงอนุรักษ์
  • ๘. การพัฒนาที่ยั่งยืนของท้องถิ่นและการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นซึ่งผู้ดูแลแหล่งอนุรักษ์ทางธรณีวิทยาควรดำเนินการจัดทำแผนบริหารจัดการที่มีความเหมาะสมโดยมีปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการดูแลและอนุรักษ์แหล่ง ทั้งนี้ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้กับแหล่ง