อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)

           อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกอาศัยคุณค่าของมรดกทางธรณีวิทยา (Geological Heritage) ร่วมกับคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติวิทยา และคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมในพื้นที่ ในการเสริมสร้างให้ เกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจให้มากขึ้นในประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม เช่น การใช้ทรัพยากรในโลก อย่างยั่งยืน การบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโลก และการลดผลกระทบจากพิบัติภัย ธรรมชาติ เพื่อยกระดับความตระหนักรู้ของประชาชนให้เห็นความส าคัญของมรดกทางธรณีวิทยาตั้งแต่สังคม อดีตจนถึงปัจจุบัน อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกท าให้ชุมชนท้องถิ่นมีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นตนเอง และ ทำให้มีเอกลักษณ์ของชุมชนท้องถิ่นกับพื้นที่อุทยานธรณีมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น การสร้างวิสาหกิจชุมชนโดยมีนวัตกรรมใหม่ การสร้างงานใหม่ และการสร้างหลักสูตรการอบรมที่มีคุณภาพสูงจะถูกสนับสนุนและผลักดันจน กลายเป็นแหล่งรายได้ใหม่ของชุมชนผ่านการท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา ในขณะเดียวกันทรัพยากรทางธรณีวิทยา ก็ได้รับการปกป้องและอนุรักษ์ไปพร้อมกั

แนวคิด “จากล่างสู่บน” (a bottom up approach)

               อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเสริมสร้างอำนาจและให้โอกาสกับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาและสร้างเครือข่าย เพื่อให้มีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมและพัฒนาพื้นที่อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก โดย อาศัยความสวยงาม ความโดดเด่นทางธรณีวิทยา ทั้งด้านกระบวนการเกิด ลักษณะธรณีวิทยา ช่วงเวลาการเกิด ประวัติที่เชื่อมโยงกับธรณีวิทยา และความโดดเด่นของสภาพธรณีวิทยาที่สวยงาม

              อุทยานธรณีโลก ตั้งขึ้นโดยใช้กระบวนการ “จากล่างสู่บน” ซึ่งเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานในท้องถิ่นและภูมิภาคทั้งหมด (เช่น เจ้าของที่ดิน กลุ่มชุมชน ผู้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวชนพื้นเมือง องค์กรท้องถิ่น) กระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างจริงจังของชุมชนท้องถิ่นความเข้มแข็งของพันธมิตรจากหลายภาคส่วนในท้องถิ่นและการสนับสนุนของประชาชนและนักการเมืองใน ระยะยาว และมีการพัฒนายุทธศาสตร์อย่างจริงจัง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของชุมชน ในขณะเดียวกันก็เป็นการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยาอีกด้วย

อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเกี่ยวข้องเฉพาะธรณีวิทยาอย่างเดียวหรือไม่ ?

            นอกจากอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกจะต้องมีแหล่งมรดกทางธรณีวิทยาที่สำคัญระดับนานาชาติ แล้ว อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกยังรวมไปถึงการศึกษาและพัฒนาความเชื่อมโยงด้านมรดกทางธรณีวิทยากับด้านอื่นๆ เช่น ธรรมชาติวิทยา วัฒนธรรม และมรดกด้านอื่นๆ ที่จับต้องไม่ได้ อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเป็นการทำให้สังคมทุกระดับของมนุษย์มีความเชื่อมโยงกับโลกของเราที่เรียกว่า “บ้าน” อีกครั้ง และท าให้รู้ว่าโลกที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานถึง 4,600 ล้านปี มีผลต่อการเป็นอยู่ของมนุษย์และสังคมมนุษย์ในทุกด้านอย่างไร ดังนั้นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะธรณีวิทยาอย่างเดียว

มีสถานะทางกฎหมายถูกผูกติดกับการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกหรือไม่ ?

           อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่มีความผูกพันในทางกฎหมาย แต่แหล่งมรดกทางธรณีวิทยาที่อยู่ในเขตอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกจะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายของประเทศ ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือชนพื้นเมืองที่มีอยู่แล้วตามความเหมาะสม บทบัญญัติของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่ได้มีข้อบังคับเกี่ยวกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนที่เกิดขึ้นในอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก แต่กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่มีอยู่ของประเทศ ท้องถิ่น ภูมิภาค หรือชนพื้นเมืองของประเทศนั้นๆ

เมื่อได้เป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแล้ว จะเป็นตลอดไปหรือไม่ ?

   อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเมื่อตั้งแล้ว จะเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกระยะเวลา 4 ปี และจะต้องมีการประเมินอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกใหม่หรือเรียกว่า revalidation เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และคุณภาพ ซึ่งอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกจะต้องเตรียมรายงานความก้าวหน้าและยูเนสโกจะส่งผู้เชี่ยวชาญจำนวน 2 คน เพื่อประเมินคุณภาพอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกในภาคสนาม ถ้าผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ จะเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่ออีก 4 ปี (บัตรเขียว) ถ้าไม่ผ่านการประเมินตามหลักเกณฑ์ หน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกจะต้องด าเนินการปรับปรุงแก้ไขตามขั้นตอนที่ได้รับแจ้งภายใน 2 ปี (บัตรเหลือง) และหากอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกไม่สามารถด าเนินการปรับปรุงแก้ไขหลังจากได้รับบัตรเหลือง แล้วตามที่แจ้งภายใน 2 ปี จะถูกถอดถอนจากการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่อไป (ใบแดง)

อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks) พื้นที่สงวนชีวมณฑล (Biosphere Reserve) และแหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) : การต่อภาพที่สมบูรณ์

        อุทยานธรณีโลกของยูเนสโก เมื่อรวมกับพื้นที่สงวนชีวมณฑลและแหล่งมรดกโลกของยูเนสโกแล้ว จะทำให้ภาพการดูแลมรดกของโลกมีความสมบูรณ์มากขึ้น เป็นการอนุรักษ์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของโลก ชีววิทยา และธรณีวิทยา รวมไปถึงการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ขณะที่พื้นที่สงวนชีวมณฑลเน้นเฉพาะการบริหารจัดการแบบกลมกลืนของความหลากหลายทางชีววิทยาและวัฒนธรรมเท่านั้น ส่วนแหล่งมรดกโลกเน้นเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรรมชาติและวัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดดเด่นของโลก อุทยานธรณีโลกของยูเนสโกทำให้เกิดความตระหนักรู้ถึงแหล่งต่างๆ ที่ส าคัญและโดดเด่นระดับนานาชาติ ส่งเสริมให้มีการอนุรักษ์ความหลากหลายทางธรณีวิทยาของโลก โดยมีชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องในกรณีพื้นที่ที่ยื่นเจตจ านงเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกอยู่ในพื้นที่เดียวกับแหล่งมรดกโลกหรือพื้นที่สงวนชีวมณฑลต้องมีเหตุผลและหลักฐานชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่าการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเป็นการเสริมหรือทำให้คุณค่าของพื้นที่สงวนชีวมณฑลและแหล่งมรดกโลกบริเวณนั้นเพิ่มสูงขึ้น