อุทยานธรณีโลกสตูล จังหวัดสตูล

ข้อมูลทั่วไป

         อุทยานธรณีโลกสตูลได้ประกาศเป็นอุทยานธรณีท้องถิ่น เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ครอบคลุมพื้นที่ ๔ อำเภอ ได้แก่ อำเภอทุ่งหว้า อำเภอมะนัง อำเภอละงู และอำเภอเมืองสตูล (อุทยานแห่งชาติตะรุเตา) รวมพื้นที่ ๒,๕๙๗ ตารางกิโลเมตร อุทยานธรณีโลกสตูล มีแหล่งธรณีวิทยา ๕๓ แหล่ง แหล่งเรียนรู้ ๘ แหล่ง แหล่งนิเวศวิทยา ๔ แหล่ง แหล่งวัฒนธรรมแหล่งผลิตภัณฑ์ชุมชน และแหล่งอื่นๆ ๑๑ แหล่ง รวมทั้งสิ้น ๗๖ แหล่ง ดังนี้

  • แหล่งธรณีวิทยา
  • ๑. ถ้ำเลสตโกดอน                                            
  • ๒. น้ำตกธารปลิว                                             
  • ๓. น้ำตกธารสวรรค์                                          
  • ๔. แหล่งซากดึกดำบรรพ์เขาโต๊ะสามยอด                  
  • ๕. สันหลังมังกร                                               
  • ๖. เขาทะนาน                                                  
  • ๗. เกาะตะบัน                                                 
  • ๘. หาดทรายดำราไว                                          
  • ๙. หาดปากบารา                                              
  • ๑๐. เขตข้ามกาลเวลา เขาโต๊ะหงาย                        
  • ๑๑. หาดหินหลากสี                                           
  • ๑๒. แหล่งซากดึกดำบรรพ์อ่าวนุ่น                           
  • ๑๓. รอยต่อของยุคทางธรณี “เขาน้อย”                              
  • ๑๔. แหล่งซากดึกดำบรรพ์ “หินสาหร่ายสโตรมาโตไลต์” 
  • ๑๕. ถ้ำอุไรทอง                                                
  • ๑๖. น้ำตกวังสายทอง                                         
  • ๑๗. ล่องแก่งวังสายทอง                                       
  • ๑๘. จุดชมวิวทางธรณี (Karst) เขาควนทัง                 
  • ๑๙. ถ้ำทะลุ ป่าหลุมยุบดึกดำบรรพ์                         
  • ๒๐. เกาะลิดี-หว้าหิน                                         
  • ๒๑. หมุ่เกาะบุโหลน                                          
  • ๒๒. สันหลังมังกร ผาใช้หนี้ บ่อเจ็ดลูก                      
  • ๒๓. ล่องเรือคายัคถ้ำลอดพบรัก                             
  • ๒๔. ปราสาทหินพันยอด                                      
  • ๒๕. อ่าวฟอสซิลอายุประมาณ ๔๕๐ ล้านปี ยุคออร์โดวิเชียน  
  • ๒๖. หาดกาสิง (หอยท้ายเภา)                              
  • ๒๗. ถ้ำเจ็ดคต
  • ๒๘. ถ้ำภูผาเพชร
  • ๒๙. แหล่งซากดึกดำบรรพ์ลานหินป่าพน
  • ๓๐. จุดชมวิวถนนสวย อำเภอมะนัง
  • ๓๑. ถ้ำระฆังทอง
  • ๓๒. เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกวังใต้หนาน
  • ๓๓. เกาะตะรุเตา (อ่าวพันเตมะละกา)
  • ๓๔. เกาะตะรุเตา (ซากดึกดำบรรพ์อ่าวเมาะและ)
  • ๓๕. เกาะตะรุเตา (อ่าวตะโละวาว คุกตะรุเตา)
  • ๓๖. อ่าวสน (ธารน้ำจืดลงสู่ทะเล)
  • ๓๗. น้ำตกลูดู
  • ๓๘. เส้นทางศึกษาธรรมชาติอ่าวตะโละอุดัง
  • ๓๙. ถ้ำจระเข้
  • ๔๐. ซุ้มหินธรรมชาติเกาะไข่
  • ๔๑. เกาะหลีเป๊ะ (หาดพัทยา)
  • ๔๒. เกาะหลีเป๊ะ (หาดซันไรซ์)
  • ๔๓. เกาะหลีเป๊ะ (หาดซันเซ็ท)
  • ๔๔. เกาะอาดัง (ที่ทำการอุทยานฯ)
  • ๔๕. เกาะอาดัง (ผาชะโด)
  • ๔๖. เกาะหินงาม
  • ๔๗. ร่องน้ำจาบัง
  • ๔๘. เกาะยาง
  • ๔๙. เกาะราวี (หาดทรายขาว)
  • ๕๐. เกาะหินซ้อน
  • ๕๑. เกาะรอ-กลอย
  • ๕๒. อ่าวลิง
  • ๕๓. เกาะผึ้ง
  • ๕๔. แหลมแต๊ะปัน (ปากบารา)
  • แหล่งเรียนรู้
  • ๑. พิพิธภัณฑ์อุทยานธรณีโลกสตูล                           
  • ๒. พิพิธภัณฑ์ช้างดึกดำบรรพ์ทุ่งหว้า                        
  • ๓. พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาโรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์            
  • ๔. บ้านของเก่าโบราณ บ้านท่าข้ามควาย
  • ๕. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาโรงเรียนกำแพงวิทยา
  • ๖. ศูนย์เรียนรู้หัตถศิลป์ “กะลาบารา”
  • ๗. บ้านรากไม้
  • ๘. วิถีชีวิตชาวมานิ                   
  • แหล่งนิเวศวิทยา
  • ๑. หอสี่หลัง                                                    
  • ๒. จุดชมวิวท่าอ้อย
  • ๓. เก็บหอย ล่องคลองแลหิ่งห้อย บ้านท่ายาง
  • ๔. ล่องแพชมหิ่งห้อยคลองละงู บ้านหัวทาง                                            
  • แหล่งวัฒนธรรมแหล่งผลิตภัณฑ์ชุมชน และแหล่งอื่นๆ
  • ๑. โบราณสถานบ่อเจ็ดลูก                                    
  • ๒. ผ้ามัดย้อมสีธรรมชาติบ้านท่าอ้อย                        
  • ๓. ศูนย์เรียนรู้พริกไทยสุไหงอุเป                             
  • ๔. นวดสปาสมุนไพรดึกดำบรรพ์                            
  • ๕. ศูนย์เรียนรู้ สวนควนข้อง หม้อข้าวหม้อแกงลิง                    
  • ๖. ศูนย์เรียนรู้การเพาะขยายพันธุ์พืชใกล้สูญพันธุ์
  • ๗. จักสานต้นคลุ้ม
  • ๘. สมุนไพรทักษอร
  • ๙. ปันหยาบาติก
  • ๑๐. โกปี๊นาข่า กาแฟโบราณ
  • ๑๑. ท่าเทียบเรือปากบารา

ความโดดเด่นทางธรณีวิทยา

          มีความโดดเด่นระดับนานาชาติด้านซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ทะเลมหายุคพาลีโอโซอิคที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยและสามารถพบได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีลักษณะภูมิประเทศแบบคาสต์ที่มีความโดดเด่นที่ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ถ้ำภูผาเพชร น้ำตกวังสายทอง เกาะตะรุเตา เกาะอาดังราวี เกาะหลีเป๊ะ เป็นต้น

ความก้าวหน้าการดำเนินงาน

สถานภาพการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย

  • ๑. เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ได้มีการรับรองอุทยานธรณีสตูลเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย ภายใต้การดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี (ระดับกรม)
  • ๒. ตามประกาศคณะกรรมการฯ เรื่อง แนวทางและหลักเกณฑ์เพื่อการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณีประเทศไทย ประกาศเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๑ ได้มีข้อกำหนดให้อุทยานธรณีที่ได้รับการประกาศเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยต้องได้รับการประเมินซ้ำทุก ๔ ปี หากผ่านเกณฑ์การประเมินจะได้รับใบเขียวเพื่อเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยต่ออีก ๔ ปี หากไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจะได้รับใบเหลืองและให้ดำเนินการปรับปรุงภายใน ๒ ปี หลังจากปรับปรุงแล้วไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินอีกครั้งจะได้รับใบแดงและถูกปลดออกจากการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย โดยในปี ๒๕๖๓ อุทยานธรณีสตูลจะมีอายุครบ ๔ ปี และต้องได้รับการประเมินซ้ำเพื่อคงสถานะการเป็นอุทยานธรณีประเทศต่อไป
  • ๓. คณะผู้ประเมินภาคสนามได้เข้าตรวจประเมินในพื้นที่อุทยานธรณีสตูลเพื่อรับรองสถานะการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย ในช่วงระหว่างวันที่ ๒๙ กรกฎาคม – ๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ผลการประเมินได้ดำเนินเสร็จสิ้นแล้ว โดยคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๔ ณ ห้องประชุมชั้น ๑๗ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และระบบการประชุมทางไกล (VDO Conference) มีมติมอบหมายให้คณะอนุกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งมรดกธรณีและการดำเนินงานอุทยานธรณีพิจารณาผลการประเมินซ้ำการเป็นอุทยานธรณีประเทศไทยของอุทยานธรณีสตูล และเสนอผลการพิจารณาต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณีต่อไป โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการนำเสนอผลการประเมินต่อคณะอนุกรรมการส่งเสริมฯ เพื่อพิจารณา

สถานภาพการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก

  • ๑. เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๖๑ อุทยานธรณีสตูลได้รับการรับรองเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
  • ๒. ตามหลักเกณฑ์ของยูเนสโกอุทยานธรณีโลกจะต้องมีการประเมินซ้ำทุกๆ๔ปี ซึ่งอุทยานธรณีโลกสตูลมีกำหนดการประเมินซ้ำในปี พ.ศ.๒๕๖๔ และด้วยสถานการณ์วิกฤติCOVID-19ทำให้การประเมินภาคสนามของอุทยานธรณีสตูลเลื่อนออกไปจากกำหนดการปกติในปี พ.ศ. ๒๕๖๔ และกำหนดใหม่ให้มีการประเมินภาคสนามในปี พ.ศ. ๒๕๖๕
  • ๓. ยูเนสโกส่งผู้ประเมินภาคสนามลงพื้นที่ตรวจประเมินซ้ำอุทยานธรณีโลกสตูลเพื่อคงสถาะการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก ระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายน – ๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยผู้ประเมิน ๒ ท่าน ได้แก่ Dr. Marie Luise Frey จากประเทศเยอรมนี และ Ms. Sarah Gamble จากประเทศแคนาดา
  • ๔. การประชุมสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก(UNESCO Global Geoparks Council Meeting)ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๔ – ๕ กันยายน ๒๕๖๕ โดยเป็นการประชุมคู่ขนานในงานประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกครั้งที่๗ (The 7th Asia Pacific Geoparks Network (APGN) Symposium) ระหว่างวันที่๔ -๑๑กันยายน๒๕๖๕ณอุทยานธรณีโลกสตูลจังหวัดสตูล พิจารณารับรองให้อุทยานธรณีโลกสตูลเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกต่ออีก ๔ ปี
  • ๕. ยูเนสโกได้มีจดหมายแจ้งผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ โดยได้รับรองให้อุทยานธรณีโลกสตูลเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๖๕ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๖๘

การเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ ๗ (The 7th Asia Pacific Geoparks Network Symposium)

กรมทรัพยากรธรณีร่วมจัดประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกครั้งที่๗ (The 7thAsia Pacific Geoparks Network (APGN) Symposium)ระหว่างวันที่ ๔ – ๑๑ กันยายน ๒๕๖๕ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา วิทยาเขตละงู อุทยานธรณีโลกสตูล จังหวัดสตูลโดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๔๒๓ คนแบ่งเป็น Online จำนวน ๑๕๗ คนและ Onsite จำนวน๒๖๖ คน

กิจกรรมในการประชุมฯ ประกอบด้วย การประชุมคู่ขนาน การประชุมวิชาการ จีโอแฟร์นิทรรศการที่
จับต้องไม่ได้ การทัศนศึกษา โดยมีรายละเอียดดังนี้

การประชุมคู่ขนาน ประกอบด้วย

  • ๑) การประชุมสภาอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks Council Meeting)เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาและรับรองผลการประเมินอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกสำหรับประเทศไทยมีอุทยานธรณีโคราชที่เข้ารับการพิจาณาเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก และอุทยานธรณีโลกสตูลที่ขอรับการประเมินซ้ำ ทั้งนี้ ผลการพิจารณาดังกล่าวจะพิจารณารับรองและประกาศอย่างเป็นทางการในการประชุมคณะกรรมการบริหารของยูเนสโกในเดือนเมษายน ๒๕๖๖ ต่อไป
  • ๒) การประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (APGN Advisory Committee)โดยพิจารณาเจ้าภาพจัดประชุมAPGN ครั้งที่ ๘ ใน พ.ศ. ๒๕๖๗ ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีโลกNon nuoc Cao Bang ประเทศเวียดนาม เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งต่อไป
  • ๓)  การประชุมคณะกรรมการประสานงานเครือข่ายอุทยานธรณีโลกภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (APGN Coordination Committee)โดย Jin Xiaochiผู้ประสานงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ (AC Coordinator)เป็นผู้รายงานผลการดำเนินงานตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๖๒ ถึงเดือนกันยายน ๒๕๖๕ และผู้แทนกรรมการประสานงานฯ ของแต่ละประเทศสมาชิกจำนวน๘ ประเทศ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานที่ผ่านมา สำหรับประเทศไทย นายณรงค์ฤทธิ์ ทุ่งปรือ ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโลกสตูล เป็นผู้แทนกรรมการประสานงานฯ ของประเทศไทยนำเสนอผลการดำเนินงานของประเทศไทยที่ผ่านมานอกจากนี้ มีการเลือกตั้งผู้ประสานงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ (AC Coordinator) ผู้ช่วยผู้ประสานงานของคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ (AC Vice Coordinators) และกรรมการที่ปรึกษาฯ (AC members) โดยนายสมหมาย เตชวาล ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้แทนของประเทศไทย
  • ๔)  การประชุมเวทีเยาวชนอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (Youth Forum) มีการนำเสนอและหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเวทีเยาวชนอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินงานของอุทยานธรณีประเทศไทยและเยาวชนในแต่ละอุทยานธรณี
  • ๕)  การประชุมคณะผู้บริหารเครือข่ายอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (Executive Board Meeting)
  • ๖)  การหารือเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างอุทยานธรณีโคราชและอุทยานธรณีโลก Non Nuoc Cao Bang ประเทศเวียดนาม เกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมด้านการศึกษาและการท่องเที่ยวร่วมกัน
  • ๗)  การหารือเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัยในพื้นที่อุทยานธรณี ระหว่างประเทศไทย สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศญี่ปุ่นโดยแต่ละประเทศได้นำเสนอกรณีศึกษาธรณีพิบัติภัยที่เกิดขึ้น

ในอุทยานธรณี ซึ่งประเทศไทยได้นำเสนอเกี่ยวกับธรณีพิบัติภัยของประเทศในภาพรวม บทบาทของกรมทรัพยากรธรณี และกรณีศึกษาหินถล่มบริเวณปราสาทหินพันยอด อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา จังหวัดสตูล ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้หารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการในด้านธรณีพิบัติในพื้นที่อุทยานธรณีในอนาคตต่อไป

การประชุมวิชาการ ภายใต้หัวข้อ “UNESCOGlabal Geoparks: Building Sustainable Communities”โดยมีผู้สนใจส่งบทความทางวิชาการ จำนวน ๑๓๕บทความ แบ่งออกเป็น ประเภทบรรยาย (Oral Presentation)จำนวน ๑๐๑บทความ และประเภทโปสเตอร์ (Poster Presentation) จำนวน ๓๔บทความทั้งนี้ ประเทศไทยได้นำเสนอบทความทางวิชาการ จำนวน ๓๒บทความ ประกอบด้วย ผู้แทนจากอุทยานธรณีระดับท้องถิ่นและระดับประเทศไทย มหาวิทยาลัยและหน่วยงายภาครัฐ

จีโอแฟร์ เป็นการจัดบูธของอุทยานธรณีและวิสาหกิจชุมชนจากอุทยานธรณีทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนความรู้และสินค้าของแต่ละอุทยานธรณี

นิทรรศการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage) โดยมีอุทยานธรณีทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมจัดแสดงนิทรรศการ จำนวน ๑๒ราย

การทัศนศึกษาประกอบด้วย ๓ เส้นทาง ได้แก่ The longest sea cave and abundant biodiversity trail, Karst morphology to the coast of two periods trail และLand of Paleozoic history and intangible heritage trail